วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แนะนำหนังสือ


ขุมสมบัติ พรายทะเล
เขียนโดย peiretta dawn แปลโดย สุมาลี
สำนักพิมพ์ นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์





ขุมสมบัติ พรายทะเลเป็นนวนิยายแฟนตาซี ภาคต่อของผจญภัยในแดนเงือก  ใครที่เคย อ่านผจญภัยในแดนเงือก คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากสำหรับสำนวนภาษาในงานเขียนของสาวน้อยอายุ17ปีคนนี้ ผู้อ่านจะได้ลุ้นระทึกไปกับเรื่องราวทั้งหลาย ที่บางส่วนจะค่อยๆคลี่คลายแต่ก็เพียงเล็กน้อยเพราะยังมีปมปัญหาใหม่ๆให้สงสัยและอยากอ่านเล่มต่อไปในชุดจักรภพพันธุ์มหัศจรรย์


ขอตั๋วหนึ่งใบกลับไปสู่วัยเด็ก
เขียนโดย เหงวียนเหญิตอั๋นห์ แปลโดย มนธิรา ราโท
สำนักพิมพ์ นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์







งานรางวัลซีไรต์ เวียดนาม ขอตั๋วหนึ่งใบกลับไปสู่วัยเด็ก เป็นหนังสือที่อ่านสนุกเล่มหนึ่ง ผ่านวิธีคิดมุมมองและจินตนาการแบบเด็กๆที่ใครหลายๆคนได้หลงลืมประสบการณ์สนุกๆในวัยเด็กไป  เรื่องราวของตัวละครเด็ก จะนำพาให้คุณได้ย้อนนึกถึงวันวานในวัยเด็กของคุณอีกครั้ง อาจทำให้คุณได้อมยิ้มและหลายคนคงจะต้องการตั๋วสักใบเพื่อเดินทางย้อนกลับไปสู่วัยเด็กอีกครั้ง



เด็กชายคนสุดท้าย THE HUNTED
เขียนโดย Alex shearer แปลโดย กรกฏ
สำนักพิมพ์ เอ็นเธอร์บุ๊คส์









เรื่องราวที่แฝงแง่คิดและความหวังในการเติบโตขึ้นแบบเด็กชายธรรมดาทั่วไปของทาร์ริน  ในโลกใหม่ที่ไร้เด็ก ทาร์ริน เด็กชาย”แท้จริง” ได้กลายเป็นสิ่งที่หายากและมีค่ามหาศาล แต่วัยเยาว์ของเขาไม่สดใสเท่าที่ควร เมื่อต้องเผชิญกับความเจริญในแง่มุมที่แสนโหดร้าย “เด็กชายคนสุดท้าย” เป็นวรรณกรรมเยาวชนจากผู้เขียน “กบฏ (เพื่อ)ช็อกโกแลต” ที่เคยสร้างความสนุกให้ผู้อ่านหลายๆท่านมาแล้ว


อินชา อัลลอฮ์ ตามประสงค์ของพระเจ้า
เขียนโดย ภานุ มณีวัฒนกุล
สำนักพิมพ์ openbook








สารคดีท่องเที่ยว บันทึกการเดินทางเยือนปากีสถาน ของ ภานุ มณีวัฒนกุล (ปากีสถาน) อาจไม่ใช้ประเทศน่าท่องเที่ยวในอันดับแรกของหลายๆคน แต่ ภานุ มณีวัฒนกุล  กับเลือกประเทศปากีสถานในการเดินทางท่องเที่ยวแบบผจญภัยนิดๆในด้านความปลอดภัย และความสะดวกสบายแต่ด้วยความพร้อมทั้งข้อมูลและความตั้งใจ จึงทำให้สามารถเก็บเกี่ยวเรื่องราวระหว่างทางการเดินทางได้ละเอียดยิบ ภายในเล่มมีภาพประกอบที่สวยงาม เรียกได้ว่า เพียงอ่านจบ นักท่องโลกคนอื่นๆก็อาจมีแรงบันดาลใจเก็บกระเป๋าออกเดินทางได้เช่นกัน





แนะนำหนังสือ


รองเท้าที่หายไป
โดย ธิติมา ช้างพุ่ม
สำนักพิมพ์ นามมีบุ๊คส์




รองเท้าที่หายไป เป็นเรื่องราวของเด็กหญิงวัย 12 ขวบ ซึ่งเติบโตในเมืองหลวงและโลกสมัยใหม่ กับอากงที่ใช้เวลาแทบทั้งชีวิตอยู่ในต่างจังหวัด รองเท้าที่หายไป เป็นเรื่องราวของปู่กับหลานที่ห่างกันมานานนับสิบปี  เป็นการนำสิ่งที่คู่ขนานซึ่งหางไกลกันให้มาเชื่อมโยงเป็นเส้นทางเดียวกัน  พวกเขาก็จะพบบางสิ่งบางอย่างที่อาจคิดว่าหายไป ทั้งที่สิ่งเหล่านั้นอยู่ใกล้ตัวเขานั้นเอง

แนะนำหนังสือ


มุมที่ไม่มีเหลียม
โดย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
สำนักพิมพ์ อมรินทร์ธรรมะ





มุมที่ไม่มีเหลี่ยม เล่มนี้ เป็นหนังสือที่บอกเล่าถึงปริศนานิทานเซน 44ตอน แทรกสลับบทกวีไฮกุกว่า20บท'อ่านง่าย มุมที่ไม่มีเหลี่ยม เป็นการเข้าถึงวิถีแห่งการการเรียนรู้อย่างเซนอย่างเข้าใจได้ไม่ยาก โดยผ่านการถ่ายทอดอธิบายขยายความโดย คุณ ' เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

แนะนำหนังสือ


หิมะในจานดิน
โดย พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ)
สำนักพิมพ์ อมรินทร์ธรรมะ





บทความสั้นๆ จำนวน 98 บทความ อ่านสนุก แฝงข้อคิดธรรม ในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติธรรมตามสไตล์เจ้าคุณพระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ เมื่อได้อ่านและปฏิบัติธรรมควบคู่กันไป จะทำให้เกิดฉุกคิด ฝึกสติ รู้ทั่วตัวทั่วพร้อม

แนะนำหนังสือ


1.จะฝันถึงเธอทุกคืนที่มีแสงดาว
โดย ประภัสสร  เสวิกุล
สำนักพิมพ์ นามมีบุ๊คส์





นวนิยายเล่มแรกในชุด "วรรณกรรมเพื่ออาเซียน" ที่นำเสนอความสัมพันธ์ของคนในอาเซียนผ่านวรรณกรรม มิตรภาพระหว่างชานนท์ เด็กชายชาวไทยและ วิชชา เด็กหญิงชาวอินโดนีเซีย ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ความสัมพันธ์ในวัยเด็กกลายเป็นความผูกพันที่ยาวนาน ความเปลี่ยนแปลงภายในประเทศเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แต่ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนก็ไม่มีอะไรทำลายได้เช่นกัน

หนังสือวันที่ถอดหมวก


คมความคิดจากหนังสือวันที่ถอดหมวก
โดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
สำนักพิมพ์สามัญชน




“ถ้าคิดแค่ตัวเองหรือกลุ่มตัวเองอยากทำอะไร บางทีมันคิดไม่ออกหรอก แต่ถ้าเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในสถานการณ์อย่างนี้ บ้านเมืองต้องการอะไร บางทีอาจจะคิดได้มากขึ้นว่ามีสิ่งไหนบ้างที่ควรทำ”
                “แล้วมันต่างกันยังไง ผมไม่เห็นเข้าใจ” ลูกชายผมประท้วง
                “ต่างสิ พ่อหมายถึงว่า เธอจะต้องขยายกรอบคิดของตัวเองออกไปให้คลุมทั้งพื้นที่ที่กว้างขึ้น และกาลเวลาที่ยาวนานขึ้นจึงจะมองเห็นปัญหาและทางออกชัดเจนขึ้น จากนั้นจะรู้ว่าตัวเองควรทำอะไร”
                “พ่อช่วยยกตัวอย่างหน่อย”
                “ได้ ตัวอย่างเช่นคนกลุ่มหนึ่งไม่ชอบหน้าท่านนายกฯและเรียกร้องให้นายกฯลาออก ถึงตอนนี้ พอท่านนายกฯประกาศเว้นวรรค บางคนก็คิดว่าเรื่องจบแล้ว ไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว ขณะที่บางคนยังสนุก ไม่อยากให้จบ แต่ก็นึกไม่ออกว่าควรจะทำอะไรต่อ ทั้งหมดนี้เป็นเพราะใช้กรอบคิดที่ค่อนข้างจำกัด เห็นแค่ความรู้สึกของตัวเอง หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับนายกรัฐมนตรีเท่านั้น การมองปัญหาแบบนี้ด้านหนึ่งก็ทำให้มองข้ามสาเหตุทางสังคมที่ทำให้คุณทักษิณขึ้นมากุมอำนาจ กระทั่งมองข้ามความเป็นมาเชิงโครงสร้างของปัญหาผู้นำการเมือง และอะไรๆ อีกหลายอย่าง ในอีกด้านหนึ่งก็ทำให้เน้นหนักในการต่อต้าน เกลียดชังตัวบุคคลจนบางทีล้ำเส้นความถูกต้องเหมาะควรไปเหมือนกัน....
                “แต่ถ้าเราขยายกรอบคิดไปสู่การทำความเข้าใจสังคมไทยและการเมืองไทยทั้งระบบ กระทั่งมองให้เห็นการพัฒนาประเทศที่ผิดพลาด และผลกระทบของยุคโลกาภิวัตน์ เราก็จะเห็นว่า ปัญหาไม่ได้เริ่มที่คุณทักษิณและไม่ได้จบที่คุณทักษิณ ถ้าอยากแก้ไขความโน้มเอียงในเรื่องอำนาจกันจริงๆ ก็คงต้องปฎิรูปกันทั้งสังคม และระบอบการเมืองการปกครองต้องไม่ปล่อยให้มีคนจนเต็มบ้านเต็มเมือง คอยเลือกเศรษฐีขึ้นมากุมอำนาจ จากนั้นไม่ปล่อยให้ผู้กุมอำนาจทำอะไรก็ได้โดยปราศจากกระบวนการตรวจสอบ...มองจากมุมนี้แล้ว เรื่องที่ต้องทำมันมากมายเหลือเกิน อีกทั้งยังไม่รู้ว่าจะไปจบลงเมื่อไหร่”
                “ครับๆ ผมพอจะเข้าใจแล้วครับ” เจ้าหนูคนเล็กของผมพยักหน้าพลางฉายแววตาท้อแท้ ซึ่งผมเดาไม่ถูกเหมือนกันว่าเขารู้สึกเหนื่อยใจกับพ่อหรือปัญหาบ้านเมือง
                “จำไว้ก็แล้วกัน” ผมกล่าวแบบสรุปรวบยอด “ทุกครั้งที่มีปัญหาแล้วคิดอะไรไม่ออก เธอต้องขยายกรอบคิดให้กว้างออกไป ขยายกรอบเวลาในความคิดให้ยาวนานขึ้น แล้วจะมองเห็นทางออกเอง”
                พูดตรงๆตอนคุยกับลูกผมไม่ได้เตรียมถ้อยคำเอาไว้ล่วงหน้า มิหนำซ้ำยังไม่รู้ชัดด้วยว่าตัวเองซ้อนวิธีคิดแบบนี้ ไว้ในหัวตั้งแต่เมื่อใด ผมรู้แต่ว่าพอเริ่มตอบคำถามมันก็พรั่งพรูออกมาตอนแรกนึกว่าเป็นผลพวงของการฝึกฝนทางด้านสังคมศาสตร์แต่คิดไปคิดมากลับรู้สึกไม่ใช่
สังคมศาสตร์อาจมีส่วนจัดแต่งภาษาบ้าง แต่รากฐานจริงๆ น่าจะเป็นประสบการณ์ชีวิตผสมกับบทเรียนทางธรรมมากกว่า
นั้นเป็นเหตุผลที่ทำให้ผมนึกถึงลำแดดเหนือม่านฝน....